ต้นแบบของเศรษฐกิจพอเพียง


ต้นแบบของเศรษฐกิจพอเพียง

หมู่บ้านต้นแบบของเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านอ่างเตย  อำเภอท่าตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา




ประวัติความเป็นมา
บ้านอ่างเตย หมู่ที่ 9 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา แยกมาจากบ้านหนองปรือกันยาง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าตะเกียบ กิ่งอำเภอสนามชัยเขต เมื่อปี พ.ศ.2536 และเนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านนี้ มีลักษณะเป็นอ่าง เมื่อนำมารวมกับความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเตยป่าที่ขึ้นอยู่ในลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพากันเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า “บ้านอ่างเตย” มาจนถึงปัจจุบัน 

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับบ้านเนินสว่าง อ.สนามชัยเขต
ทิศใต้ ติดกับบ้านคลองมะหาด
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านหนองปรือกันยาง
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านเขาสีเสียด อ.สนามชัยเขต 

สภาพทั่วไป
บ้านอ่างเตย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอท่าตะเกียบ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดฉะเชิงเทราประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 24,000 ไร่ เป็นพื้นที่ทำไร่ เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา ยูคาลิปตัส สัปปะรด ประมาณ 9,000 ไร่ และพื้นที่ทำนา ประมาณ 3,000 ไร่ 

ประชากร 
ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานตอนล่าง ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 320 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,464 คน เป็นชาย 731 คน เป็นหญิง 733 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา สวนผลไม้ ปลูกผัก ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม 

ผลิตภัณฑ์ของชุมชน 
ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ไม้กวาดดอกหญ้า หน่อไม้ไผ่ตง ผักปลอดสารพิษ ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด น้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม สบู่ ยางพารา และผลไม้ เช่น กล้วย มะม่วง ขนุน สัปปะรด เป็นต้น 

ประเพณีและสถานที่สำคัญของชุมชน 
ได้แก่ วัด โรงเรียน และศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านอ่างเตย ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน 

ผู้นำ/กลุ่ม/องค์กรชุมชน
1. นายสำรวย ทรัพย์ประสาน สจ.ท่าตะเกียบ
2. นายไพรวัลย์ คำประสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน
3. กองทุนหมู่บ้าน
4. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
5. กองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
6. กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน
7. กลุ่มทอผ้าไหม
8. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ
9. กลุ่มถักไม้กวาด
10. กลุ่มปลูกไผ่
11. กลุ่มไม้ผล
12. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด
13. กลุ่มเลี้ยงสุกร ฯลฯ

กิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนในหมู่บ้านอ่างเตยดำรงชีวิตอยู่ในความพอประมาณพึ่งพาตนเอง มีกิจกรรมลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครัวเรือน เช่น การปลูกผักไว้กินภายในครัวเรือนและสามารถขายได้ในรูปของกลุ่ม มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รู้จักตนเอง มีการรวมกลุ่มกันบริหารทุนชุมชนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ทำให้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล เช่น จัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้นเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่ทำลายดิน จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิม เป็นต้น
ความภาคภูมิใจของชุมชน
1. เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนตัวอย่างของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2554
2. เป็นหมู่บ้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2554
3. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2553
4. เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่ดี กินดี” ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2552
การใช้ชีวิตแบบพอเพียงของบ้านอ่างเตย
ความพอประมาณ  ชาวบ้านอ่างเตยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล ชาวบ้านอ่างเตยจะตัดสินใจดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ด้วยความมีเหตุผล โดยมีการประชุมหมู่บ้านทุกวันที่ 5 ของเดือน เพื่อพิจารณาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ชาวบ้านอ่างเตยมีการ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เช่น การกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ และกองทุนสวัสดิการอื่น ๆ เป็นต้น
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ ได้แก่ วิชาการต่าง ๆ มาประกอบการวางแผน และคุณธรรม ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน ใช้สติปัญญาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


    โรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  ตำบลแก้มสนามนาง  อำเภอแก้งสนามนาง  จังหวัดนครราชสีมา




                 โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี สพป.นครราชสีมา เขต 6 ได้รับรองเป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2552 “สถานศึกษาพอเพียง 2552
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเผยแพร่เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ตลอดจนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินการประชุมวางแผนงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียน โดยจัดอบรมปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงแก่ครูผู้สอนทุกคน  มอบหมายให้ครูทุกคนจัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจโดยจัดทำแผนการเรียนรู้แบบ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชา บริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้านให้ปฏิบัติครบวงจรคุณภาพ P, D, C, A  ทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัด  และพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยความยั่งยืน โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
          1  การบริหารจัดการสถานศึกษา   
     1) นโยบาย
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดีมีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ขับเคลื่อน  และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี  ดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจำปีที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาขับเคลื่อน  และนำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการ เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
     2)  วิชาการ
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี มีแผนงาน ดำเนินการตาม แผนงาน /โครงการ/กิจกรรม ติดตามผลการดำเนินการ และนำผลการติดตามไปพัฒนา ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการ
บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
    3) งบประมาณ
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดีมีการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามผลการดำเนินการและนำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง
    4) บริหารทั่วไป
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดีบริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ใน สถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการเป็น อยู่อย่างพอเพียง

        2. หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ดำเนินการดังนี้
           1)  หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  มีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้นมีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล    มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานของหลักสูตรพุทธศักราช 2551 มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้ง หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3  เน้นความพอเพียงระดับตนเองและครอบครัว ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4-6  เน้นความพอเพียงระดับโรงเรียน
         2)  การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  ได้ใช้รูปแบบการบริหาร โดยกำหนดกระบวนทัศน์การจัดการศึกษา มุ่งเน้นใช้แนวคิดเชิงบูรณาการด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนหลัก และใช้รูปแบบระบบการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีครูและผู้ปกครองเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยนำหลักคิดหลักปฏิบัติไปสู่นักเรียน ด้วย 5 กระบวนการ คือ
      2.1) การเรียนรู้ด้วยหลักสูตรแบบบูรณาการระดับชั้น ป.1-ป.6 ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และ การนำหลักความพอเพียงไปใช้ปฏิบัติ
       2.2) การเรียนรู้แบบโครงงาน และให้นักเรียนนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้
       2.3) การเรียนรู้ผ่านฐานกลุ่มสาระ ได้กำหนดฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ
       2.4) ค่ายทักษะกระบวนการคิดด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
       2.5) การฝึกทักษะการคิด
จากการเรียนรู้กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามรูปแบบที่โรงเรียนสร้างขึ้น อิงกรอบความคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล และนำเสนอผลงานได้   โรงเรียนบ้านหนองขามนาดีกำหนดให้มีแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น    จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

    ขั้นตอนที่  1  การสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ ใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรแบบบูรณาการระดับชั้นและค่ายพอเพียงฝึก ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      ขั้นตอนที่  2  การฝึกปฏิบัติและการนำเสนอผลงานของตนเอง ใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงานและผ่านฐานการเรียนรู้
      ขั้นตอนที่  3  การฝึกทักษะการคิดด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน จัดการเรียนรู้จากทุกกลุ่มสาระ
         3)  สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  จัดหา/จัดทำ ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน
         4) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  จัดทำเครื่องมือ และใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง  มีการรายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  รวมทั้งจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของนักเรียน ที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ตามที่โรงเรียนกำหนดสาระประกอบการประเมินการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้น ดังนี้
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1-3
1) ผู้เรียนใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
2) ผู้เรียนรู้จักการออม มีวินัยในการใช้จ่าย
3) ผู้เรียนสามารถบอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและ ครอบครัว เช่น ทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเอง
4) ผู้เรียนวิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง และสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของตนเอง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6
1)   ผู้เรียนสามารถระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
2)  ผู้เรียนรู้สิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค
3)  ผู้เรียนสามารถอธิบายและประยุกต์หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
4)  ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน เช่น การประหยัดพลังงาน-ค่าใช้จ่ายในบ้าน  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ผู้เรียนรู้วิธีใช้และประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      2.2.3  การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน    ดำเนินการ  ดังนี้
      1)  การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  มีกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่ให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนชีวิตของตนเอง สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีระบบติดตามผลและนำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      2)  กิจกรรมนักเรียน
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  มีแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง  จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุม/ชมรม  มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนา ในการจัดกิจกรรมนักเรียน ติดตามผล  นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
     3)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน  โรงเรียนติดตามผลการดำเนินกิจกรรม  นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


      2.2.4  พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา   
      1)  การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  จัดการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและ ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างสม่ำเสมอ  จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     2)  การติดตามและขยายผล
โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี  ติดตามผล นำผลการติดตามมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจ หน้าที่   ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        2.3  ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้

       2.3.1  สถานศึกษา
สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และบุคลากรรวมถึงผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน  ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้โรงเรียนบ้านหนองขามนาดีได้รับการประกาศเป็นสถานศึกษาแบบอย่างการ จัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง 2552”   เป็นเกียรติประวัติของสถานศึกษา
       2.3.2  ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน  อย่างเป็นเหตุเป็นผล  พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม  รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต
       2.3.3  บุคลากรของสถานศึกษา
บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง   มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      ดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแบบอย่างในการวางแผนการใช้จ่าย  ใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว  และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ  รู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุล ประหยัดและคุ้มค่า  รวมทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษาและชุมชน  อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเป็นแบบ อย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์  มีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน  มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน  ช่วยเหลือผู้อื่น  บริจาค  ทำบุญ  และ ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างสม่ำเสมอ   ดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์  เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย และประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น  ชาติพันธุ์     มีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา/ชุมชน/สังคม ดำเนินการ สืบทอด  สานต่อรักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน  สังคม  ประเทศชาติสืบไป
       2.3.4  นักเรียน
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา  ปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ   เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย  มีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ  ดำเนินชีวิตประจำวัน โดยไม่เบียดเบียน หรือสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองและผู้อื่น  มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น  ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม  ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า  และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ / ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา และชุมชน  เห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ค่านิยม  เอกลักษณ์  ความเป็นไทย  ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนา และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น  ชาติพันธุ์    ตลอดจน มีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ สถานศึกษา ชุมชน สังคม ดำเนินการสืบทอด สานต่อ รักษาวัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน สังคมประเทศชาติสืบไป ส่งผลให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอุปนิสัยแห่งความพอเพียงในการดำรงชีวิต
2.3.5 ผู้ปกครองและชุมชน
ดำเนินชีวิต และมีการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    2.4  แนวคิดในการพัฒนาต่อไป
พัฒนาสถานศึกษาพอเพียง ให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา”   โดยมีการจัดกิจกรรมและดำเนินงานตามประเด็นในการพัฒนา ดังนี้
       2.4.1        ด้านบุคลากร
     1)  จัดประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ จัดเวทีจัดการความรู้/จัดนิทรรศการ/เปิดโอกาสให้แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาให้ ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตนตาม ปศพพ.  นำ ปศพพ. มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา  สามารถถ่ายทอดประสบการณ์การนำ  ปศพพ. มาใช้ในสถานศึกษา   มุ่งมั่นในการขับเคลื่อน ปศพพ.  ในสถานศึกษา  ขยายผลการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่ภายนอกสถานศึกษา เช่น ชุมชน สถานศึกษาอื่น  ฯลฯ  และชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกเห็นคุณค่า ยอมรับและให้ความร่วมมือในการขยายผลการขับเคลื่อน ปศพพ.
      2) พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ  มีสื่อและ/หรือนวัตกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ ปศพพ.และอธิบาย ปศพพ. ได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตนตาม ปศพพ.  นำ ปศพพ. มาใช้ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่รับผิดชอบจนเห็นผล  มีการใช้สื่อและ/หรือนวัตกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ ปศพพ.ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จนเห็นผล  สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้เพื่อนครูในสถานศึกษา จนมีครูทุกระดับชั้น  ทุกกลุ่มสาระจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม ปศพพ. จนเห็นผล  มีครูแกนนำนำบทเรียนความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ตาม ปศพพ.จากการถอดบทเรียนของตนมาจัดทำเป็นสื่อขยายผล สู่ภายนอกสถานศึกษาจนเห็นผล  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม ปศพพ. อย่างต่อเนื่อง
     3)  ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนแกนนำให้มีความ รู้ ความเข้าใจ สามารถอธิบาย ปศพพ. ได้อย่างถูกต้อง  เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติตนตาม ปศพพ. จนเห็นผล  เห็นคุณค่า และเกิดศรัทธา  มีส่วนร่วมในขับเคลื่อน ปศพพ. ในสถานศึกษาจนมีนักเรียนที่มีคุณสมบัติอยู่อย่างพอเพียงจำนวนเพิ่มขึ้น  ขับเคลื่อน ปศพพ. ทั้งภายใน ภายนอกสถานศึกษาและจัดกิจกรรมขยายผล ปศพพ. สู่ภายนอกสถานศึกษา  และนำ ปศพพ. มาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
   4)  สร้างความเข้าใจคณะกรรมการสถานศึกษาให้รับรู้  สนใจเห็นคุณค่า ศรัทธาและมีส่วนร่วม  สนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อน ปศพพ. ของสถานศึกษา ตลอดจน การขยายผลการขับเคลื่อน  ปศพพ. สู่ภายนอก
       2.4.2       ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
     1)  พัฒนา  ปรับปรุง ดูแล รักษา อาคารสถานที่และจัดการสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม  มีแผนงาน/โครงการ งบประมาณ  ผู้รับผิดชอบในการปรับใช้อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมให้เป็นไปตาม ปศพพ.   มีศูนย์รวมข้อมูลการขับเคลื่อน ปศพพ. ของสถานศึกษา  มีแผนผังแสดงแหล่งเรียนรู้/ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ในสถานศึกษา  มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตาม  ปศพพ. เช่น สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย ฯลฯ  ครู นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อาคาร สถานที่ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตาม ปศพพ. และชุมชน  หน่วยงานอื่นได้ใช้ประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลรักษา และพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
      2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ หรือฐานการเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่าง พอเพียงภายในและภายนอกสถานศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของสถานศึกษา  มีการจัดการอย่างพอเพียง มีสื่อประกอบการเรียนรู้ประจำแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ที่สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง  และมีวิทยากรรับผิดชอบฐานการเรียนรู้ ปศพพ.ที่สามารถอธิบายความได้อย่างถูกต้องชัดเจน  มีแผนการจัดการเรียนรู้ของแหล่ง/ฐาน/กิจรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ครูและบุคลากร สามารถเป็นวิทยากรอธิบายการใช้ประโยชน์จากแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. มีการประเมินผลการใช้แหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. อย่างเป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาแหล่ง/ฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ ปศพพ. ในโครงการ 1 ไร่ ได้ 1 แสนเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร  มีกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน ได้แก่ ฐานการทำนาแบบลดต้นทุน ฐานธนาคารใบไม้  ฐานการประมง  ฐานปศุสัตว์ ฐานการทำปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยชีวภาพ ฐานการเพาะเห็ดนางฟ้า ฐานการทำน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่าน เพื่อนำมาเป็นสารไล่แมลง ฐาน 1 ไร่ได้ 1 แสน  ฐานการปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ ฐานเพาะชำขยายพันธ์พืช ฐานพืชไร่และไม้ผล
        2.4.3       ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก
        1)  ประสานสัมพันธ์กับชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง
   2) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิเพื่อเป็นพี่เลี้ยงด้านการสนับสนุน วิชาการ  ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก้งสนามนาง ด้านกลุ่มอาชีพ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ  ธนาคารออมสิน    เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน
    3) สร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานต่าง ๆ และประสานความร่วมมือ เพื่อให้และ/หรือรับการสนับสนุนเพื่อการขับเคลื่อน ปศพพ. และสามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  ได้รับการยอมรับ และความร่วมมือในการขยายผลการขับเคลื่อน ปศพพ.สู่หน่วยงานภายนอก สามารถเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาสถานศึกษาอื่นให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงได้ อย่างน้อย 1  สถานศึกษา  บริหารจัดการเพื่อรองรับการขอศึกษาดูงานจากสถานศึกษาอื่น โดยไม่กระทบภารกิจหลักของสถานศึกษา และเป็นสถานศึกษาแกนนำของเครือข่ายขับเคลื่อน ปศพพ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น